สารเสริมอาหาร ในรูปแบบโปรตีนฟอร์มไหนที่เหมาะกับเรา
สวัสดีค่าวันนี้ RVM มีข้อมูลดีๆ มาแบ่งปันกันเช่นเคยค่ะ คิดว่าทุกคนอาจจะเคยสงสัยว่า สารเสริมอาหาร ในรูปแบบโปรตีนฟอร์มไหนที่เหมาะกับเรากันนะ
สารเสริมอาหารโปรตีนในรูปแบบต่าง ๆ นั้นให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งตอบโจทย์ตามเป้าหมาย สภาวะร่างกาย และความชอบที่แตกต่างกัน วันนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้เรื่องของโปรตีนแบบมืออาชีพกันค่ะ
เพราะเหตุใดโปรตีนจึงสำคัญ
- ให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้และต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
- ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกาย รวมทั้งช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอ
- สร้างสารทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เอนไซม์และฮอร์โมนหลายชนิด รวมทั้งช่วยนำพาและขนส่งสารหลายชนิดในเลือด
- สร้างภูมิต้านทาน โดยสร้างสารแอนติบอดีทำหน้าที่จับและทำลายสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
- ดูแลสมดุลของเหลว โปรตีนในเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลออสโมติก (Osmotic Balance) ทั้งในเลือดและในเซลล์
- ดูแลสมดุลกรด-ด่าง โปรตีนในเลือดช่วยควบคุมปริมาณอิออนไฮโดรเจน ทำให้ pH ในเลือดและในเซลล์อยู่ในสภาวะที่เป็นด่างอ่อน ซึ่งเหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ส่วนใหญ่ในร่างกาย
- สร้างกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดในร่างกาย
- เป็นแหล่งพลังงาน ในบางภาวะที่ร่างกาย ขาดอาหารอย่างรุนแรง ร่างกายสามารถสลายโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระเพื่อนำไปสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายได้
ความต้องการโปรตีนของร่างกายสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ระดับ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หากเป็นหญิงมีครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร มีความต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนตั้งครรภ์ ในขณะที่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับโปรตีน 1.2-1.6 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬาทั่วไปที่ต้องการพลังงานมากขึ้นแต่หากไม่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ จะมีความต้องการโปรตีนเทียบเท่ากับคนปกติ นอกจากนี้เรายังได้รับประโยชน์มากมายจากการทานโปรตีนให้เหมาะสมตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งรวมถึง
- การควบคุมความอยากอาหาร มีรายงานกว่า high-protein diet นั้นช่วยทำให้อิ่มมากขึ้นและยาวนานขึ้น
- การควบคุมน้ำหนักและองค์ประกอบร่างกาย เพราะการทำให้อิ่มส่งผลทำให้ทานอาหารน้อยลง และเพิ่มแคลอรี่จากการย่อยอาหาร (The thermic effect of food) และช่วยคงมวลกล้ามเนื้อในช่วงที่ลดไขมัน
- ส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อและคงมวลกล้ามเนื้อ การรักษาระดับโปรตีนให้สูงร่วมกับการออกกำลังกายทำให้เพิ่มและรักษากล้ามเนื้อยาวนานขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย
- เพิ่มความแข็งแรง ระดับโปรตีนที่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
- ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โปรตีนเป็นเหมือนอิฐบล๊อคของแอนตี้บอดี้ และยังทำหน้าที่หลายประการในระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ขาดโปรตีนจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก่อโรคง่ายขึ้น
- ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายเร็วขึ้น การบริโภคโปรตีนช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายระหว่างการออกกำลังกาย รวมไปถึงการบาดเจ็บด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกันหากขาดโปรตีนอาจจะทำให้
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
- ผิว ผม เล็บ มีปัญหา
- การฟื้นตัวจากบาดแผลช้า
- อารมณ์แปรปรวน
- มีความเสี่ยงต่อการกระดูกหักสูงขึ้น
หลักการในการพิจารณาคุณภาพของโปรตีน
1. กรดอะมิโน
ร่างกายต้องได้รับกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acids) หรือ EAAs 9 ชนิด เพราะร่างกายเราไม่สามารถสร้างเองได้ EAAs จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่วน BCAAs หรือ Branched-chain amino acids นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ EAAs ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ โดยปกติแหล่งของโปรตีนจากเนื้อสัตว์มักจะมี EAAs ครบถ้วน ในขณะที่แหล่งโปรตีนที่มาจากพืชอาจจะมีการพร่องหรือขาดกรดอะมิโนบางชนิด เช่น โปรตีนจากถั่วพีมีระดับเมทไธโอนีนที่ต่ำ จึงจำเป็นต้องทานร่วมหรือผสมกับโปรตีนจากพืชชนิดอื่นเช่นข้าวสาลี เป็นต้น นอกจาก EAAs ที่ร่างกายสร้างไม่ได้ยังมี Non-essential Amino Acid ซึ่งก็คือกรดอะมิโนไม่จำเป็น ซึ่งร่างกายเราสามารถสร้างเองได้ กรดอะมิโนไม่จำเป็นเหล่านี้บางครั้งในบางสภาวะ เช่น เจ็บป่วย ร่างกายเราสร้างไม่ทัน มีภาวะพร่อง หรือขาดไป เราจำเป็นต้องรับประทานเสริมเข้าไป ลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่า Conditionally Essential Amino Acids ค่ะ
2. การย่อย (digestibility) และนำไปใช้ (bioavailability)
โดยพิจารณาจากค่า
- Protein Digestablity Corrected Amino Acid score (PDAAS) ซึ่งบอกถึงระดับของกรดอะมิโนที่จำเป็นและครบถ้วนกับความต้องการของร่างกาย เป็นค่ามาตรฐานในการตรวจสอบโปรตีนที่ผ่านการยอมรับเพื่อชี้วัดคุณภาพโปรตีน โดยค่าสูงสุดจะเท่ากับ 1 หรือ 100%
- Digestibible Indispensable Amino Acid Score (DIAAS) ซึ่งค่า DIAAS บอกถึงความสามารถในการดูดซึมกรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีนในบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งค่าที่สูงนั้นยิ่งบอกถึงคุณภาพของโปรตีนที่ดี
*เนื่องจากค่า DIAAS เป็นค่าที่เพิ่งถูกนำมาใช้ล่าสุด บางแหล่งโปรตีนจึงยังไม่ถูกวัด
**เป็นสัดส่วนของโปรตีนจาก ถั่วพี:ข้าว 70:30 ใกล้เคียงกับเวย์โปรตีนแต่สัดส่วนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามแหล่งของผลิต
3. กระบวนการผลิตและคุณภาพ
สารเสริมอาหารโปรตีนนั้นมีกระบวนการสกัดและผลิตหลายรูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบมีลักษณะดังนี้
-
Concentrates
เป็นการสกัดเวย์โปรตีนโดยใช้ความร้อนและกรดหรือเอ็นไซม์ มีปริมาณโปรตีนประมาณ 25 – 89% ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโปรตีน 80% สัดส่วนที่เหลือจะเป็นไขมัน คอเลสเตอรอลและคาร์โบไฮเดรตผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่พบในท้องตลาดเป็นโปรตีนชนิดนี้ เวย์โปรตีนชนิดนี้มีน้ำตาลแลคโตสค่อนข้างมาก (4 – 8%) จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ขาดเอนไซม์แลคเตสที่ย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเวย์โปรตีนถ้าใช้กระบวนการสกัดแบบเย็นจะยังคงมีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ซึ่งสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันนี้ส่งผลแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
-
Isolates
Whey protein isolate ใช้กระบวนการการกรองซึ่งทำให้ลดสัดส่วนของไขมัน คอเลสเตอรอล และคาร์โบไฮเดรต จึงมีโปรตีน 90-95% ทำให้ย่อยได้เร็วกว่าแบบ concentrate มีแลคโตสในปริมาณน้อยมาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตส โปรตีน
ชนิดมีราคาค่อนข้างสูงเพราะมีความบริสุทธิ์สูงและมีปริมาณโปรตีนอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อไม่ใช้ความร้อนในการสกัดจึงยังคงมีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ ใครมี budget พอก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยค่ะ
-
Protein hydrolysates
โปรตีนชนิดนี้จะใช้กระบวนการย่อยสายโปรตีนขนาดยาวให้เป็นสายเปปไทด์ขนาดสั้นๆ โดยเพิ่มความร้อน กรด หรือเอ็นไซม์ ทำให้สามารถย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้นไปอีก เพราะเป็นแบบ มีการย่อยมาก่อน (pre-digested) แล้วมีแลคโตสเหลือน้อยมากๆ จึงลดโอกาสในการแพ้ มักใช้ในสูตรสําหรับทารก นักกีฬา และอาหารทางการแพทย์การย่อยโปรตีนให้เป็นสายเปปไทด์สั้น ๆ ไม่มีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของโปรตีน รสชาติจะมีความขมซึ่งอาจจะทำให้ต้องเติมปริมาณสารให้ความหวานหรือน้ำตาลเพิ่มขึ้น ต้องลองดูที่ฉลากให้ดีๆ นะคะ สำหรับใครที่ไม่อยากเพิ่ม added sugar และสารให้ความหวานบางชนิดเปลี่ยนสมดุลย์จุลินทรีย์ในลำไส้เราได้
ในขณะที่แบบ concentrates และแบบ non-ionized isolates ยังคงมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพซึ่งช่วยการย่อย อารมณ์ และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่ง whey hydrolysates และ ionized isolates นั้นไม่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และราราจะสูงกว่า 2 แบบแรก
-
Ion exchange purify whey
เป็นเวย์โปรตีนที่บริสุทธิ์ที่สุดและลดสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปด้วย
4. การแพ้และการแพ้อาหารแฝง (Intolerance and sensitivity) ในกลุ่มโปรตีน
การแพ้และการแพ้อาหารแฝงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาเลือกโปรตีนที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลเลยค่ะ เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์กลับทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นไปอี๊ก เช่น การแพ้โปรตีนจากนม หรือการแพ้กลูเตนที่อยู่ในพืชบางชนิด ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สารเสริมอาหารโปรตีนที่หลากหลายตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้นค่ะ
5. แหล่งของโปรตีน
ซึ่งหลักๆ ก็มีจากสัตว์และพืชค่ะ แต่ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกนะคะ ไม่ต้องกลัวค่ะ เราย่อยมาให้แล้ว อิอิ
-
แหล่งโปรตีนจากสัตว์
- เวย์โปรตีน
คงเป็นชื่อที่คุ้นชินในตลาดมากที่สุด มักนิยมใช้ในกลุ่มผู้ออกกำลังกาย ให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ครบ ย่อยได้เร็ว และมีสัดส่วน BCAA ที่สูง เพราะกล้ามเนื้อมีโอกาสที่จะถูกสลายเมื่อเราออกกำลังกาย เราจะพบได้ทั้งรูปแบบ concentrates, isolates และ hydrolysates
-
- เคซีน
เคซีนเป็นโปรตีนจากนม โดยปกตินมจะมีสัดส่วนของเคซีน 80% และเวย์ 20% มีปริมาณกรดอะมิโนกลูตามีนค่อนข้างสูง เป็นโปรตีนที่ย่อยได้ช้า อิ่มนาน มักจะเห็นใน 2 ฟอร์ม คือ micellar caesin (แบบ isolate) และ hydrolyzed caesin ซึ่งจะย่อยได้ดีกว่า แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้เคซีน
-
- Cricket protein หรือโปรตีนจากจิ้งหรีด
เชื่อมั้ยคะ โปรตีนจากแมลงกำลังได้รับความสนใจในปัจจุบันเพราะเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แหล่งโปรตีนจากเวย์หรือเคซีน (ซึ่งส่วนใหม่มาจากวัวและมีสารมีเทนที่ค่อนข้างสูง) โปรตีนจากจิ้งหรีดผ่านกระบวนการการล้าง ทำให้แห้ง และบดให้เป็นผง มีโปรตีน 60% และเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 (ซึ่งอาจจะมากเพียงพอที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน) 20-25% ของโปรตีนจากแมลงเป็นไขมัน (มักจะเป็นกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกับโปรตีนจากสัตว์ทั่ว ๆ ไป) มีคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทเส้นใยอาหารและไม่มีน้ำตาล
-
- โปรตีนผสมจากนม
ซึ่งโปรตีนกลุ่มนี้มักจะผสมเวย์และเคซีน จะได้ ประโยชน์จากการย่อยเร็วและช้าร่วมกัน ซึ่งผู้ที่ปัญหากับเคซีนอาจจะต้องพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ
-
- โปรตีนจากไข่ขาว
โปรตีนจากไข่ขาวหรืออัลบูมิน ให้กรดอะมิโนครบ ราคาไม่สูง ไขมันต่ำ และปราศจากคอเลสเตอรอล มีแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก โปแทสเซียม และมีค่าการดูดซึมและนำไปใช้ที่ดี
-
- คอลลาเจน
สารเสริมอาหารที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ โดยเฉพาะเพื่อดูแลผิวพรรณ กระดูกและข้อ และสุขภาพลำไส้ คอลลาเจน ซึ่งเราจะพบทั้งฟอร์ม denatured และ hydrolysate ซึ่งคอลลาเจนช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว กระดูกและข้อ แต่อาจจะยังไม่ใช่แหล่งโปรตีนในอุดมคติเท่าไหร่นัด
-
- Bone broth
ในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของ bone broth ในท้องตลาดนั้นมีทั้งแบบแคปซูลและผงแห้งในรูปแบบของ dehydrated broth (มักจะมากระดูกไก่มาต้มหรือเคี่ยว) กระดูกไก่มีกรดอะมิโนครบ รวมถึง BCAA แต่ถ้ามาจากอกไก่จะมีกรดไกลซีน โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน ซึ่งมีทั้งคอลลาเจนชนิดที่ 1 และ 2 ทั้งนี้ทั้งนั้นสัดส่วนของโปรตีนขึ้นอยู่กับขั้นตอนการประกอบอาหาร
ต่อไปลองมาพิจารณาโปรตีนจากพืชกันดูนะคะ
-
แหล่งโปรตีนจากพืช
- โปรตีนจากถั่วเหลือง
เป็นอีกหนึ่งโปรตีนทางเลือกสำหรับกลุ่มผู้รับประทานมังสวิรัติและเจ ไม่มีคอเลสเตอรอล และมีปริมาณไขมันต่ำ แม้จะเป็นมีกรดอะมิโนที่ครบแต่มีปริมาณเมทไธโอนีนที่ต่ำ ซึ่งปริมาณที่ต่ำนี้ไม่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่และเด็ก นอกจากนีโปรตีนจากถั่วเหลืองยังมี soy isoflavones ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนอย่างอ่อน ๆ และมีปัญหาการแพ้ที่น้อยกว่าเวย์หรือเคซีน
-
- โปรตีนจากถั่วพี
โปรตีนจากถั่วพี มีความคล้ายเวย์โปรตีน มีกรดอะมิโนครบและมีสัดส่วนของ BCAA ที่สูง นอกจากนี้ยังมีอาร์จีนีน และกลูตามีนสูง แต่มีเมทไธโอนีนที่ค่อนข้างน้อยอาจจะต้องผสมร่วมกับโปรตีนจากแหล่งอื่น ย่อยง่ายและเกิดการแพ้ค่อนข้างน้อย
-
- โปรตีนจากข้าว
แม้ว่าข้าวจะมีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่สูงแต่ก็มีโปรตีนอยู่ ซึ่งสามารถสกัดออกมาโดยใช้เอ็นไซม์ ซึ่งมีกรดอะมิโนไลซีนค่อนข้างต่ำจึงจัดเป็นกรดอะมิโนจำกัดต้องทานผสมกับแหล่งอื่น เช่นถั่วพี โปรตีนจากข้าวนั้นมีอัตราการแพ้ที่ค่อนข้างน้อย ราคาไม่แพง และเชื่อว่าดูดซึมง่าย
-
- โปรตีนจากกัญชง Hemp
โปรตีนจากกัญชง(Cannabis Sativa L.) นั้นไม่มีผลต่อจิตประสาทเหมือนกัญชา ใช้กระบวนการบดทั้งเมล็ดกัญชงจึงได้ประโยชน์ไม่เพียงแค่กรดอะมิโนเท่านั้น มีปริมาณเส้นใยอาหารที่สูง และเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 เช่นเดียวกับโปรตีนจากไข่ขาว กัญชงมีสัดส่วนของโปรตีนอัลบูมินที่สูง กรดอะมิโนครบแต่มีไลซีนที่ต่ำ มี BCAA ในปริมาณที่สูงกว่าโปรตีนจากข้าวและไข่ขาว แต่ว่ามีปริมาณน้อยกว่าเวย์และถั่วเหลือง ในขณะเดียวกันก็มีปริมาณอาร์จีนีนที่สูงกว่าแหล่งอื่น
-
- โปรตีนผสมจากพืชหลายชนิด
โปรตีนจากพืชหลายชนิดมีกรดอะมิโนจำกัด จึงนิยมใช้ส่วนผสมจากพืชที่ประสานคุณประโยชน์เข้าด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะได้อะมิโนที่ครบแล้วยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นอีกด้วย
———
หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ
https://www.facebook.com/revomedthailand
เพื่อเป็นแรงใจในการสร้างสรรและมุ่งมั่นส่งต่อสิ่งดีดี ต่อไปค่ะ
————————————
อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ อยากจ้างผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
อยากสร้างความต่าง เพิ่มโอกาสในการขาย หรือ
ติดตามเรื่องราวดี ๆ ทั้งการตลาด นวัตกรรม ความงามและสุขภาพ
กดติดตามได้ที่เพจนี้เท่านั้น [อย่าลืมกด See First นะคะ]
หรือ ช่องทางติดตามอื่น ๆ ติดต่อเราได้เลยค่ะ
Tel : 061-662-4242
Line @ : @Revomed (มี@ด้านหน้านะคะ)
LINE OA: https://line.me/R/ti/p/%40revomed
Facebook:
https://www.facebook.com/revomedthailand
Website: www.revomed.co.th
Instagram: https://www.instagram.com/revomedthailand
Youtube: http://bit.ly/RevomedYouTube
————————————
#อายุน้อยร้อยล้าน #RevomedThailand #รีโว่เมด
#OEMเครื่องสำอาง #OEMอาหารเสริม #คุณภาพGMP
#เจ้าหญิงวงการอาหารเสริม #รับจ้างผลิต #รับสร้างแบรนด์
#โรงงานอาหารเสริม #โรงงานเครื่องสำอาง #โรงงานผลิตครีม
เอกสารอ้างอิง
- Whey Hydrolysate คืออะไร? ทำไมถึงเหมาะกับคนที่มีปัญหาแพ้แลคโตส : https://fitnesstool.in.th/อาหารเสริม/whey-hydrolysate/
- Whey Concentrate คือ? เวย์โปรตีนที่ผ่านกระบวนผลิตน้อยที่สุด : https://fitnesstool.in.th/อาหารเสริม/whey-concentrated/
- Aragon AA, Schoenfeld BJ, Wildman R, Kleiner S, VanDusseldorp T, Taylor L, et al.International society of sports nutrition position stand: diets and body composition. J Int Soc Sports Nutr. 2017 Jun 14;14:16.
- Weigle DS, Breen PA, Matthys CC, Callahan HS, Meeuws KE, Burden VR, et al.A high-protein diet induces sustained reductions in appetite, ad libitum caloric intake, and body weight despite compensatory changes in diurnal plasma leptin and ghrelin concentrations. Am J Clin Nutr. 2005 Jul;82(1):41–8.
- Halton TL, Hu FB.The effects of high protein diets on thermogenesis, satiety and weight loss: a critical review. J Am Coll Nutr. 2004 Oct;23(5):373–85.
- Morton RW, Murphy KT, McKellar SR, Schoenfeld BJ, Henselmans M, Helms E, et al.A systematic review, meta-analysis and meta-regression of the effect of protein supplementation on resistance training-induced gains in muscle mass and strength in healthy adults. Br J Sports Med. 2018 Mar;52(6):376–84.
- Baum JI, Kim I-Y, Wolfe RR.Protein Consumption and the Elderly: What Is the Optimal Level of Nutrients [Internet]. 2016 Jun 8;8(6). Available from:http://dx.doi.org/10.3390/nu8060359
- Thomas DT, Erdman KA, Burke LM.American College of Sports Medicine Joint Position Statement. Nutrition and Athletic Performance. Med Sci Sports Exerc. 2016 Mar;48(3):543–68.
- Schoenfeld BJ, Aragon AA.How much protein can the body use in a single meal for muscle-building? Implications for daily protein distribution. J Int Soc Sports Nutr. 2018 Feb 27;15:10.
- Dietary protein quality evaluation in human nutrition: Report of an FAO Expert Consultation. FAO FOOD AND NUTRITION PAPER [Internet]. Available from:http://www.fao.org/ag/humannutrition/35978-02317b979a686a57aa4593304ffc17f06.pdf
- Rutherfurd SM, Fanning AC, Miller BJ, Moughan PJ.Protein digestibility-corrected amino acid scores and digestible indispensable amino acid scores differentially describe protein quality in growing male rats. J Nutr. 2015 Feb;145(2):372–9.
- Phillips SM.Current Concepts and Unresolved Questions in Dietary Protein Requirements and Supplements in Adults. Front Nutr. 2017 May 8;4:13.
- House JD, Neufeld J, Leson G.Evaluating the quality of protein from hemp seed (Cannabis sativa L.) products through the use of the protein digestibility-corrected amino acid score method. J Agric Food Chem. 2010 Nov 24;58(22):11801–7.
- Eastoe JE.The amino acid composition of mammalian collagen and gelatin. Biochem J. 1955 Dec;61(4):589–600.
- Shaw G, Lee-Barthel A, Ross ML, Wang B, Baar K.Vitamin C-enriched gelatin supplementation before intermittent activity augments collagen synthesis. Am J Clin Nutr. 2017 Jan;105(1):136–43.
- Valenzuela PL, Mata F, Morales JS, Castillo-García A, Lucia A.Does Beef Protein Supplementation Improve Body Composition and Exercise Performance? A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. Nutrients [Internet]. 2019 Jun 25;11(6). Available from: http://dx.doi.org/10.3390/nu11061429
- Sharp M, Shields K, Lowery R, Lane J, Partl J, Holmer C, et al.The effects of beef protein isolate and whey protein isolate supplementation on lean mass and strength in resistance trained individuals – a double blind, placebo controlled study. JInt Soc Sports Nutr. 2015 Sep 21;12(1):P11.
- Messina M, Lynch H, Dickinson JM, Reed KE.No Difference Between the Effects of Supplementing With Soy Protein Versus Animal Protein on Gains in Muscle Mass and Strength in Response to Resistance Exercise. Int J Sport Nutr Exerc Metab. 2018 Nov 1;28(6):674–85.
- Hamilton-Reeves JM, Vazquez G, Duval SJ, Phipps WR, Kurzer MS, Messina MJ.Clinical studies show no effects of soy protein or isoflavones on reproductive hormones in men: results of a meta-analysis. Fertil Steril. 2010 Aug;94(3):997–1007.
- Chen M, Rao Y, Zheng Y, Wei S, Li Y, Guo T, et al.Association between soy isoflavone intake and breast cancer riskfor pre- and post-menopausal women: a meta-analysis of epidemiological studies. PLoS One. 2014 Feb 20;9(2):e89288.
- Bitto A, Polito F, Atteritano M, Altavilla D, Mazzaferro S, Marini H, et al.Genistein aglycone does not affect thyroid function: results from a three-year, randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Clin Endocrinol Metab. 2010 Jun;95(6):3067–72.
- Gorissen SHM, Crombag JJR, Senden JMG, Waterval WAH, Bierau J, Verdijk LB, et al.Protein content and amino acid composition of commercially available plant-based protein isolates. Amino Acids.
- WHEY PROCESSING [Internet]. Dairy Processing Handbook. 2015 [cited 2020 May 13]. Available from:https://dairyprocessinghandbook.tetrapak.com/chapter/whey-processing
- Center for Food Safety, Nutrition A. Additional Information about High-Intensity Sweeteners [Internet]. U.S. Food and Drug Administration. 2020 [cited 2020 May 13]. Available from:https://www.fda.gov/food/food-additives-petitions/additional-information-about-high-intensity-sweeteners-permitted-use-food-united-states
- Center for Food Safety, Nutrition A. Generally Recognized as Safe (GRAS) [Internet]. U.S. Food and Drug Administration. 2019 [cited 2020 May 13]. Available from:https://www.fda.gov/food/food-ingredients-packaging/generally-recognized-safe-gras
- Vigar V, Myers S, Oliver C, Arellano J,Robinson S, Leifert C.A Systematic Review of Organic Versus Conventional Food Consumption: Is There a Measurable Benefit on Human Health? Nutrients [Internet]. 2019 Dec 18;12(1). Available from:http://dx.doi.org/10.3390/nu12010007
- Smith-Spangler C, Brandeau ML, Hunter GE, Bavinger JC, Pearson M, Eschbach PJ, et al.Are organic foods safer or healthier than conventional alternatives?: a systematic review. Ann Intern Med. 2012 Sep 4;157(5):348–66.
- Grass Fed Small & Very Small Producer Program | Agricultural Marketing Service [Internet]. [cited 2020 May 13]. Available from:https://www.ams.usda.gov/services/auditing/grass-fed-SVS
- https://www.consumerlab.com/reviews/protein-powders-shakes-drinks-sports/nutritiondrinks/#protein สืบค้นวันที่ 6 เมษายน 2564