การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนอย่างไร

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับสาระดีๆ อัดแน่นด้วยคุณภาพกับ RVM อีกครั้ง วันนี้เราจะมีรวบตึงข้อมูลเรื่อง การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีน อย่างไรมาฝากกันค่ะ

หลายๆ ท่านกลัวไวรัส COVID-19 แต่ก็กลัวผลข้างเคียงที่จะรับจากวัคซีนตัวใหม่ด้วย แน่นอนว่าการตัดสินใจจะรับวัคซีนนั้นเป็นเหตุผลส่วนบุคคลที่จะประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับวัคซีนด้วยตนเอง ซึ่งตรงนี้เราไม่ว่ากัน แต่หากมีท่านใดพิจารณาจะรับวัคซีน (สำหรับท่านที่คิดว่าอยากจะเสริมภูมิของตัวเองก่อนไม่หวังพึ่งวัคซีนเพียงอย่างเดียว อดใจรออีกนิดนะคะ เราจะมีบทความเรื่องนี้ออกมาอีกไม่นานค่ะ) แต่เนื่องจากวัคซีนสำหรับไวรัส COVID-19 นั้นเป็นวัคซีนชนิดใหม่จึงยังไม่มีการเก็บข้อมูลสารอาหารที่เฉพาะเจาะจงออกมา แต่เรารวบรวมจากประวัติข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อจะนำมาใช้ประกอบการเตรียมตัวก่อนรับวัคซีน  เราลองมาดูกันเลยค่ะว่าเราจะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเราอย่างไรกันบ้าง

ก่อนที่จะเสริมภูมิคุ้มกัน เรามาดูสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของเรากันก่อนค่ะ ป้องกันการเหนื่อยฟรี สิ่งที่เราควรที่จะหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะก่อนและหลังรับวัคซีนมีดังนี้ค่ะ

 1.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

มีรายงานถึงการเกิดผลข้างเคียงของการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังรับวัคซีนว่าในบางกลุ่มเกิดอาการข้างเคียงหลังจากวัคซีน ซึ่งตามข้อมูลจากองค์กร Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ในสหรัฐอเมริการายงานว่า แอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) อาจจะกระตุ้นทำให้เกิดผลข้างเคียงของวัคซีน และในขณะเดียวหากเรามีภาวะขาดน้ำหรือแฮงค์จากการดื่มแอลกอฮอล์ก็จะทำให้เรายากที่จะแยกว่านี่คืออาการจากการดื่มรึว่าจากวัคซีนกันแน่ ในขณะเดียวกันการดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นการสร้างความเครียดให้กับระบบภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่ง แม้แอลกอฮอล์ดูเหมือนจะทำให้เราหลับง่ายแต่กลับรบกวนกระบวนการนอนทำให้นอนไม่มีคุณภาพอีกด้วยค่ะ 

2. น้ำตาลตัวกดภูมิ

น้ำตาลตัวกดภูมิ

  •  น้ำตาลเพียง 75 กรัม ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานน้อยลง 40% ถึง 4-5 ชั่วโมง นอกจากนี้การสันดาปน้ำตาลทำให้เกิดอนุมูลอิสระเยอะทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ
  •  การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ทำให้เม็ดเลือดขาวมาจุดติดเชื้อช้าลง กระตุ้นการอักเสบและยับยั้ง Neutrophil ให้ทำงานไม่ได้
  •  การที่น้ำตาลจับกับโปรตีน (Glycation) ทำให้โปรตีนเสียสภาพทำงานไม่ได้ และถูกทำลายได้ง่าย
  •  คนที่ทานน้ำตาลเยอะทำให้น้ำตาลแย่งเข้ากับวิตามินซี เซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีวิตามินซีอยู่ (กลุ่มที่จัดการเชื้อแบคทีเรียและไวรัส) ไม่สามารถดูดซึมวิตามินซีเข้าเซลล์ได้ส่งผลให้ความสามารถในจัดการเชื้อโรคลดลงถึง 25% เลยค่ะ

3. ความเครียดกดภูมิคุ้มกันยาวนานกว่า

ความเครียดกดภูมิคุ้มกันยาวนานกว่า

ความเครียดกดภูมิคุ้มกันยาวนานกว่า ความเครียดในระดับเล็กๆ นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ความเครียดแบบเรื้อรัง วิตกกังวล คิดวนหาทางออกไม่ได้เพียงไม่กี่นาทีทำให้ natural killer cell และเม็ดเลือดขาวตัวอื่นๆ ลดการทำงานลงอาจจะหลายชั่วโมงจนกระทั่งเกือบทั้งวันได้เลยนะคะ ฉะนั้นบางครั้งการลดรับข่าวสาร หรือ ลอง Social media intermittent fast บ้างก็เป็นไอเดียที่ดีไม่น้อยเลยนะคะ

4. นอนน้อยยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก

นอนน้อยยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก

การนอนน้อยนั้นลด Natural killer activity ถึง 70% และการนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหวัดมากถึง 4 เท่า นอกจากนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมดุลย์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ การนอนที่เพียงพอก็ส่งผลต่อต่อการสร้างแอนตี้บอดี้ทั้งก่อนและหลังรับวัคซีน การนอนน้อยจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนด้วยเช่นกันค่ะ 

การเตรียมตัวก่อบรับวัคซีน

การส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในเป็นปกติ

1. ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี

การหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสกับเชื้อ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ เลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นโดยไม่จำเป็น จำกัดระยะห่าง กินร้อน ช้อนเรา ต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดีที่สุดค่ะ

2. ทานโปรตีนให้เพียงพอ

ก่อนที่จะไปถึงการเสริมกลุ่ม สารอาหารรองอย่างวิตามินและเกลือแร่ (Micronutrients) เราลองมาสำรวจว่าสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการอย่างโปรตีน ทั้งปริมาณและคุณภาพนั้นเพียงพอต่อวันหรือไม่ เพราะโปรตีน คือ วัตถุดิบสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวของเรา ผู้ที่ทานมังสวิรัติควรเพิ่มโปรตีนจากระดับคำแนะนำพื้นฐานไปอีก 10% ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายควรเพิ่มปริมาณโปรตีนตามประเภทการออกกำลังกายและความหนักด้วยเช่นกันค่ะ ตัวอย่างเช่น  ลิวซีน เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อและเซลล์ภูมิคุ้มกัน ทำให้ T-cell แบ่งตัว ปริมาณที่ต้องการจะอยู่ที่ 14-45 มก. ต่อน้ำหนักตัว ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ในช่วงที่มีการติดเชื้อจะร่างกายจะสร้างกลูตามีนไม่ได้ และถ้ามีระดับต่ำภูมิคุ้มกันก็จะทำงานได้ไม่ดี กลูตามีนถือเป็นแหล่งสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นอาหารที่มักใช้ในทางการแพทย์ถือว่าเป็น Immunonutrition มักให้ก่อนหรือหลังผ่าตัด และคงตัวเสถียรขึ้นเมื่ออยู่กับอะลานีน เป็นต้นค่ะ

3. กรดไขมันดี ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม

ทานรับประทานไขมันอิ่มตัวที่เยอะเกินไปทำให้การทำงานของเซลล์เยื่อบุทำงานผิดปกติ หรือก่อให้เกิดการอักเสบได้ค่ะ EPA ร่วมกับ DHA จะช่วยแก้ไขทำให้ภูมิคุ้มกันกลับมาทำงานปกติ ป้องกันการอักเสบ จึงจำเป็นที่จะต้องบาลานซ์ omega 6 กับ omega 3 ซึ่งโดส EPA ที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 500 มก. ค่ะ

4. วิตามินและเกลือแร่

คนส่วนใหญ่มักเสริมในกลุ่มนี้ก่อน มองข้ามปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นไป ทำให้ไม่ได้ประโยชน์สูงสุดจากวิตามินและเกลือแร่ที่ทานไป แต่ตอนนี้เรามีข้อมูลแล้วเรามาดูกันค่ะว่า แต่ละตัวช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเราอย่างไรในแง่ของการที่ใช้ร่วมกับการฉีดวัคซีน

วิตามินและเกลือแร่

จากตารางข้างบนเราจะเห็นว่าเวลาที่เราฉีดวัคซีนนั้นเราต้องการให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ออกมาเพื่อจดจำเชื้อโรค การเสริม วิตามิน A (ในฟอร์มธรรมชาติ) บี6 บี12 วิตามินดี โฟลิคแอซิด สังกะสี คอปเปอร์ และซีลีเนียม ล้วนช่วยส่งเสริมการสร้างแอนติบอดี้ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงภาวะเหล็กต่ำและมีภาวะซีดส่งผลต่อการตอบสนองของวัคซีนในเด็กด้วยเช่นกันค่ะ 

5. ทานน้ำให้เพียงพอ

จริงๆ แล้วน้ำเป็นสิ่งจำเป็นกับการทำงานทุกระบบในร่างกาย ในระบบภูมิคุ้มกันก็เช่นกัน ร่างกายเราประกอบไปด้วยน้ำถึง 60% และหากเราอยู่สภาวะที่ขาดน้ำแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในการเดินทาง ขนส่งสาร และการสื่อสารระหว่างเซลล์ภูมิคุ้มกันด้วยกันเอง การขาดน้ำยิ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ การทานน้ำให้เพียงพอจึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับการนอนให้เพียงพอค่ะ ปริมาณน้ำที่ต้องการดูจากน้ำหนักตัวของเราค่ะ ทุก 1 กิโลกรัมต้องการน้ำประมาณ 30-40 มล. หรืออาจจะคำนวนจากปริมาณแคลอรี่ต่อวันที่เราต้องได้รับ ซึ่ง 1 แคลอรี่จะต้องการน้ำ 1 – 1.5 มล. และในวันที่อากาศร้อนๆ เราควรเพิ่มปริมาณน้ำอย่างน้อย 500 มล.ค่ะ

6. ดูแลการอักเสบ

นาทีนี้ไม่พูดถึงการอักเสบไม่ได้จริงๆ ค่ะ เพราะเป็นสาเหตุของเกือบทุกอย่างของปัญหาในร่างกายเรา สาร Anti-inflammation มีหลายตัวเลยค่ะไม่ใช่เพียงโอเมก้า3 สารที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ แมกนีเซียม เควอซิติน กระเทียมสกัด และอีกตัวนึงที่เริ่มมีการนำมาใช้คู่กับสารสกัดอื่นที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ บรอมีเลน (Bromelain) บรอมิเลนมีสารที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันให้มีการต้านการอักเสบได้ดี รวมไปถึง ส่งผลต่อการชะลอการเกาะกลุ่มของลิ่มเลือดด้วย เคอร์คูมิน นอกจากมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งและ ยังมีฤทธิ์ลดสารอักเสบที่มากมายหลากหลายตัว นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ด้วยเช่นกันค่ะ

7. เคลื่อนไหวร่างกาย ฝึกกองทหารเม็ดเลือกขาวของเราให้แอคทีฟ

เราก็คงอยากให้เหล่าทหารเม็ดเลือดขาวของเราทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพใช่มั้ยคะ ถ้าหากเรามี “พฤติกรรมที่เนือยนิ่ง” (Sedentary lifestyle) แล้วน้องๆ เม็ดเลือดขาวของเราก็จะเป็นเช่นเดียวกันค่ะ เม็ดเลือดขาวของเรานั้นประจำการตามจุดต่างๆ ของร่างกายและตามระบบน้ำเหลืองซึ่งไม่เหมือนกับเส้นเลือดแดงที่มีหัวใจตัวปั๊มให้ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย การขยับร่างกายจึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของระบบภูมิคุ้มกัน การออกกำลังกาย   แต่พอดีในระดับปานกลางถือเป็น good stress การขยับตัวให้แอคทีฟก่อนและหลังวัคซีนจึงช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ดีค่ะ

หากเราลดปัจจัยที่จะกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การส่งเสริมภูมิคุ้มกันของเราในทิศทางที่ถูกต้อง อาจจะเพิ่มโอกาสที่เราได้ประโยชน์ และลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีนได้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดีผลข้างเคียงจากวัคซีนนั้นยังมีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม เพศ อายุ โรคประจำตัว และอื่นๆ จึงควรปรึกษากับแพทย์ประจำตัวร่วมด้วย สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับใช้ให้เข้ากับแต่ละบุคคลนะคะ

———

หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

 https://www.facebook.com/revomedthailand

เพื่อเป็นแรงใจในการสร้างสรรและมุ่งมั่นส่งต่อสิ่งดีดี ต่อไปค่ะ

————————————

อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ อยากจ้างผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

อยากสร้างความต่าง เพิ่มโอกาสในการขาย หรือ

ติดตามเรื่องราวดี ๆ ทั้งการตลาด นวัตกรรม ความงามและสุขภาพ

กดติดตามได้ที่เพจนี้เท่านั้น [อย่าลืมกด See First นะคะ]

หรือ ช่องทางติดตามอื่น ๆ ติดต่อเราได้เลยค่ะ

Tel : 061-662-4242

Line @ : @Revomed (มี@ด้านหน้านะคะ)

LINE OA: https://line.me/R/ti/p/%40revomed

Facebook:

https://www.facebook.com/revomedthailand

Website: www.revomed.co.th

Instagram: https://www.instagram.com/revomedthailand

Youtube: http://bit.ly/RevomedYouTube

————————————

#อายุน้อยร้อยล้าน #RevomedThailand #รีโว่เมด

#OEMเครื่องสำอาง #OEMอาหารเสริม #คุณภาพGMP

#เจ้าหญิงวงการอาหารเสริม #รับจ้างผลิต #รับสร้างแบรนด์

#โรงงานอาหารเสริม #โรงงานเครื่องสำอาง #โรงงานผลิตครีม

เอกสารอ้างอิง

  1. Albert Sanchez, J. L. Reeser, H. S. Lau, P. Y. Yahiku, R. E. Willard, P. J. McMillan, S. Y. Cho, A. R. Magie, U. D. Register, Role of sugars in human neutrophilic phagocytosis, The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 26, Issue 11, November 1973, Pages 1180–1184, https://doi.org/10.1093/ajcn/26.11.1180
  2. Christian Benedict, Jonathan Cedernaes, Could a good night’s sleep improve COVID-19 vaccine efficacy?, The Lancet Respiratory Medicine, 2021, , ISSN 2213-2600, https://doi.org/10.1016/S2213-2600(21)00126-0. (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213260021001260)
  3. Eric C. Shattuck, Corey S. Sparks, Sleep duration is related to increased mortality risk through white blood cell counts in a large national sample, American Journal of Human Biology, 10.1002/ajhb.23574, 0, 0,
  4. Jennifer L Kaczmarek, Sharon V Thompson, Hannah D Holscher,
  5. Complex interactions of circadian rhythms, eating behaviors, and the gastrointestinal microbiota and their potential impact on health, Nutrition Reviews, Volume 75, Issue 9, September 2017, Pages 673–682, https://doi.org/10.1093/nutrit/nux036
  6. Ismail, Manar. (2017). Chronic Mental Stress Induces Reversible Reduction of Natural Killer Cells and CD56dim Subpopulation. American Journal of Immunology. 13. 186-193. 10.3844/ajisp.2017.186.193.
  7. Linda Witek-Janusek, Sheryl Gabram, Herbert L. Mathews, Psychologic stress, reduced NK cell
  8. activity, and cytokine dysregulation in women experiencing diagnostic breast biopsy, Psychoneuroendocrinology, Volume 32, Issue 1, 2007, Pages 22-35, ISSN 0306-4530, https://doi.org/10.1016/j.psyneuen.2006.09.011.
  9. Ronald Glaser, John Rice, John Sheridan, Richard Fertel, Julie Stout, Carl Speicher, David Pinsky, Mark Kotur, Alison Post, Melinda Beck, Janice Kiecolt-Glaser, Stress-related immune suppression: Health implications, Brain, Behavior, and Immunity, Volume 1, Issue 1, 1987, Pages 7-20, ISSN 0889-1591, https://doi.org/10.1016/0889-1591(87)90002-X.
  10. Stoffel NU, Uyoga MA, Mutuku FM, Frost JN, Mwasi E, Paganini D, van der Klis FRM, Malhotra IJ, LaBeaud AD, Ricci C, Karanja S, Drakesmith H, King CH and Zimmermann MB (2020) Iron Deficiency Anemia at Time of Vaccination Predicts Decreased Vaccine Response and Iron Supplementation at Time of Vaccination Increases Humoral Vaccine Response: A Birth Cohort Study and a Randomized Trial Follow-Up Study in Kenyan Infants.Front. Immunol.11:1313. doi: 10.3389/fimmu.2020.01313
  11. Yu S, Zhang G, Jin LH. A high-sugar diet affects cellular and humoral immune responses in Drosophila. Exp Cell Res. 2018 Jul 15;368(2):215-224. doi: 10.1016/j.yexcr.2018.04.032. Epub 2018 May 1. PMID: 29727694.
  12. https://www.facebook.com/100483314972031/posts/170596707960691/ สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2564