กัญชง กับ กัญชา เหมือน – ต่างกันอย่างไร ?

กัญชง กับ กัญชา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

กัญชง กับ กัญชา – ปัจุบันมีการปลดล็อคกัญชงและกัญชาให้พ้นจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แล้ว ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนมากยังคงสับสนระหว่างกัญชงและกัญชาอยู่ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

ซึ่งจริงๆแล้ว กัญชง ชื่อทางวิทยาศาตร์คือ Cannabis sativa และ กัญชา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa indica  ซึ่งเป็นพืชวงศ์เดียวกัน เพียงแต่จะมีความแตกต่าง ทั้งทางกายภาพบ้าง และตัวปริมาณสารสำคัญ วันนี้เราจะมาอธิบายความเหมือนและความต่างของกัญชงและกัญชาให้เข้าใจแบบง่ายไม่ต้องสับสนกันอีกต่อไป

กัญชง กับ กัญชา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

กัญชง มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า เฮมพ์ (hemp) เป็นคำเรียกที่ใช้กับต้นพืชที่ใช้ประโยชน์ในการผลิต เส้นใยสำหรับถักทอ ใบใหญ่และเรียวยาวกว่ากัญชา มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจนและไม่มียางเหนียว ติดมือ จะมีสีเขียวอมเหลือง ต้นสูงกว่ากัญชาอย่างชัดเจน และมีการแฉกออกอยู่ที่ 7-9 ใบ

กัญชงมีปริมาณ THC (สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) น้อยกว่า 1 (น้อยกว่า 0.3 ไม่ถือว่าเป็นสารเสพติด) ซึ่งแตกต่างกับกัญชา ที่โดดเด่นที่ THC ถ้านำใบและช่อดอกของกัญชงมาสูบจะมีกลิ่นน้อย และอาจทำให้ปวดหัวแต่กัญชงจะถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันกัญชง ซึ่งมีโอเมก้า-3 ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

กัญชง กับ กัญชา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ marijuana หรืออาจใช้คำว่า cannabis จากชื่อทางวิทยาศาสตร์ มักเป็นที่รู้จักในการนำมาทำเป็นยาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ยังถือเป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมายอยู่ในหลายประเทศ ใบจะเล็กกว่ากัญชงเล็กน้อย การเรียงตัวของใบจะชิดกัน โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่น ชัดเจน และมักมียางเหนียวติดมือ มีใบสีเขียวจัด และมีการแฉกออกอยู่ที่ 5-7 ใบ

กัญชาจะมีปริมาณ THC อยู่ที่ 1-10% ถ้านำใบและช่อดอกมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง หากเราได้รับสารชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม จึงเป็นเหตุที่ทำให้กัญชาถูกนำไปใช้ช่วยให้ผ่อนคลาย ใบและบางส่วนของกัญชานำมารักษาอาการบางอย่าง เช่น อาการปวด เพิ่มความอยากอาหาร ลดการอาเจียน คลายกล้ามเนื้อ และลดอาการชักได้

สาร CBD เป็นสารสำคัญในกลุ่มแคนนาบินอยด์ที่พบมากในกัญชงและกัญชา แต่สายพันธุ์ที่ทางกระทรวงอนุญาตให้เรานำมาใช้นั้น เป็นสายพันธุ์ที่มี CBD สูง แต่ THC ต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยงจากการได้รับผลข้างเคียงของสาร THC หรือผู้ป่วยที่ไม่สมควรได้รับสาร THC เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันต่ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ และผู้ป่วยเด็กที่ไม่ควรได้รับสาร THC

สาร CBD นั้นสามารถได้มาจากทั้งกัญชงและกัญชา มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกัน โดยสาร CBD หรือสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทแบบอื่นๆ เช่น CBG สามารถนำมาใช้ทำทั้งยารักษาโรค เครื่องสำอางค์ อาหาร และเครื่องดื่ม

ในอุตสาหกรรมอาหาร กัญชงกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยส่วนของกัญชงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้น

ส่วนแรกเมล็ดกัญชงที่เก็บได้สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดนั้นมีโอเมก้า3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลเป็นอย่างดี

ส่วนที่ 2 ส่วนของใบก็สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำใบมาเป็นชาเพื่อสุขภาพ หรือนำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่นๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง

สรุปความแตกต่างระหว่าง กัญชง และ กัญชา

  1. กัญชง มีสีเขียวอมเหลือง กัญชา มีสีเขียวจัด
  2. กัญชง ลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร กัญชา ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร
  3. กัญชง มี 7-9 แฉก กัญชา มี 5-7 แฉก
  4. กัญชง ใบจะเรียงตัวค่อนข้างห่าง กัญชา ใบจะเรียงตัวชิดกัน
  5. กัญชง มีสาร (THC) น้อยกว่า 0.3% กัญชา มีสาร (THC) ประมาณ 1-10%
  6. กัญชง เมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดศีรษะ กัญชา เมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีอาการเคลิบเคลิ้ม

กัญชงจะนำมาปลูกเพื่อใช้เส้นใยในการทำเสื้อผ้า กระดาษ เครื่องทอต่าง ๆ ในขณะที่กัญชาถูกนำมาใช้ในการเป็นยาเสพติด แต่ถ้าหากนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และถูกวิธี ก็จะสามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยบางโรคได้เช่นกัน

Banner

———

หากถูกใจ หรือ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจของเราด้วยนะคะ

 https://www.facebook.com/revomedthailand

เพื่อเป็นแรงใจในการสร้างสรรและมุ่งมั่นส่งต่อสิ่งดีดี ต่อไปค่ะ

————————————

อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ อยากจ้างผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

อยากสร้างความต่าง เพิ่มโอกาสในการขาย หรือ

ติดตามเรื่องราวดี ๆ ทั้งการตลาด นวัตกรรม ความงามและสุขภาพ

กดติดตามได้ที่เพจนี้เท่านั้น [อย่าลืมกด See First นะคะ]

หรือ ช่องทางติดตามอื่น ๆ ติดต่อเราได้เลยค่ะ

Tel : 061-662-4242

Line @ : @Revomed (มี@ด้านหน้านะคะ)

LINE OA: https://line.me/R/ti/p/%40revomed

Facebook:

https://www.facebook.com/revomedthailand

Website: www.revomed.co.th

Instagram: https://www.instagram.com/revomedthailand

Youtube: http://bit.ly/RevomedYouTube

————————————

#อายุน้อยร้อยล้าน #RevomedThailand #รีโว่เมด

#OEMเครื่องสำอาง #OEMอาหารเสริม #คุณภาพGMP

#เจ้าหญิงวงการอาหารเสริม #รับจ้างผลิต #รับสร้างแบรนด์

#โรงงานอาหารเสริม #โรงงานเครื่องสำอาง #โรงงานผลิตครีม

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก. “มารู้จัก “กัญชง” กันเถอะ…”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.tak.doae.go.th.  [20 มิ.ย. 2015].
  2. ผู้จัดการออนไลน์. “สวยปิ๊ง! ด้วย “กัญชงจากกัญชา” ผลงานวิจัย จาก มช.”.  ( ทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [20 มิ.ย. 2015].
  3. พันทิปดอทคอม. “ความมหัศจรรย์ของผ้าทอจากเส้นใยต้นกัญชง”.  (by ตาลโตน).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : pantip.com.  [20 มิ.ย. 2015].
  4. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). “เฮมพ์ (กัญชง)”.  เข้าถึงได้จาก : www.sacict.net.  [20 มิ.ย. 2015].
  5. กัญชง มีประโยชน์อย่างไร http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=2270
  6. กัญชง VS กัญชา เหมือน-ต่างกันอย่างไร ? https://www.sanook.com/health/20145/