มาตรฐานGMP และ มาตรฐาน HACCP ต่างกันอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไรบ้าง
มาตรฐานGMP อาจเป็นคําที่เราคุ้นเคยจากผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสําอาง หรืออาหาร โดย GMP นั้นย่อมาจาก Good Manufacturing Practice หากแปลอย่างตรงตัวก็จะหมายถึงกระบวนการผลิตที่ดี หรือในที่นี้ก็คือกระบวนการการผลิตที่ได้มาตรฐานนนั่นเอง GMP จึงเป็นคําย่อที่แสดงให้เห็นถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็น ในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทําให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการ ป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทําให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
มาตรฐาน GMP คืออะไร ?
GMP สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่นําไปใช้ปฏิบัติสําหรับ อาหารทุกประเภท โดย มีอยู่ 6 ข้อกําหนดด้วยกัน
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะ
GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะ อย่างข้อกําหนด GMP น้ำบริโภค และข้อกําหนด GMP นมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาส เจอร์ไรส์ เป็นต้น โดยแต่ละข้อกำหนดก็จะมีในเรื่องของการบังคับในกระบวนขั้นตอนต่างๆที่แตกต่างกันไปอีก
หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และ การ ขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบการจัดการ 2 ที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points)
มาตรฐาน HACCP คืออะไร ?
HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนกระบวนการผลิต มีการดำเนินงานเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนสารเคมี หรือสิ่งสกปรกใดๆ โดยมีการศึกษาถึงอันตราย และหาทางป้องกันล่วงหน้ารวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลา
ระบบ HACCP ยึดหลักเกณฑ์ตามโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ซึ่งสามารถป้องกันอันตราย หรือสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ เคมี และกายภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการควบคุมพนักงานและ เทคนิคการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนต่างๆเป็นจุด สำคัญของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้าย
หลักการของระบบ HACCP
หลักการที่ 1 การดำเนินการวิเคราะห์อันตราย
หลักการที่ 2 หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
หลักการที่ 3 กำหนดค่าวิกฤต
หลักการที่ 4 กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
หลักการที่ 5 กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ อยู่ภายใต้การควบคุม
หลักการที่ 6 กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP
หลักการที่ 7 กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติและบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ ที่ เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้
จะเห็นได้ว่า GMP นั้น คือการรับรองกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และ HACCP คือกระบวนการที่จะยืนยันอีกทีว่ากระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานนั้นไม่มีการปนเปื้นจากสารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่างๆที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งนี้การรับรองต่างๆก็จะแตกต่างกันไปอีกในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค อย่าง ยา เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง และอาหาร สิ่งที่เรารับเข้าร่างกายโดยตรงคงจะดีไม่น้อยถ้าได้รับการรับรองทั้ง GMP และ HACCP เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสิ่งที่บริโภคไปนั้น ได้รับการผลิตมาจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาแล้วว่าสะอาด ปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อนอย่างแน่นอน
เราสามารถใส่GMPลงบนกล่องผลิตภัณฑ์ ได้หรือไม่