OEM ,ODM และ OBM คืออะไร? ทำไมคนทำแบรนด์ถึงต้องรู้จัก !

oemคือ

OEMคือ อะไร แล้ว ODM และ OBM คืออะไร? ใครที่กำลังวางแผนผลิตสินค้า และแบรนด์ ครีม เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ของตัวเองอยู่ แน่นอนคงจะต้องเคยได้ยิน หรือคุ้นเคยกับคำว่า OEM , ODM และ OBM กันมาบ้าง ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นคำศัพท์ในการเรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดบริการแต่ละประเภทนั่นเอง แต่ว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรล่ะ แล้วเราจะเลือกโรงงานอย่างไรให้เหมาะสมกับสินค้าและธุรกิจของบเรา วันนี้เราจะพาคุณมาไขความลับ และพามาทำความรู้จักกับโรงงานแต่ละประเภทกันให้ใมากขึ้นกันขึ้น เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจเลือกถูกนั่นเอง


OEM คืออะไร

oemคือ

OEM หรือ (Origianl Equipment Manufacturer) คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้จะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่ตีตราก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า โรงงานประเภทนี้นั้นมักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเองแต่เน้นการผลิตให้กับแบรนด์ให้กับอื่น ๆ ที่ต้องการผลิตในจำนวนน้อย หรือไม่มีโรงงานเป็นของตนเองนั่นเอง

ข้อดี และ ข้อเสียของการเลือกโรงงานประเภทนี้

ข้อดี
  • ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล
ข้อเสีย
  • มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง
  • หากใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก

ODM คืออะไร

oemคือ

ODM หรือ Original Design Manufactuere คือ ผู้รับจ้างที่ออกแบบและ ผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง ซึ่งโรงงานประเภทนี้ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับประเภท OEM โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบ โดยสามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เองและนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน โดยที่ลูกค้ามีน่าที่ในกระบวนการขายและกระจ่ายสินค้าสู่ตลาดเอง การออกแบบเหล่านี้มีทั้งที่เป็นExclusive คือออกแบบให้เฉพาะราย โดยมีการคิดค่าออกแบบที่แพง เพราะถือว่าลูกค้าเพียงรายเดียวจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่หรือnon exclusiveคือให้สิทธิได้กับหลายรายในราคาค่าออกแบบที่ถูกลงนั่นเอง

ข้อดี และ ข้อเสียของการเลือกโรงงานประเภทนี้

ข้อดี
  • ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย เหมาะกับ ผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
  • หากเลือกออกแบบที่เป็น Exclusive ก็จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
  • ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิต และการออกแบบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ข้อเสีย
  • มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงกว่า โรงงานประเภทอื่น เพราะมีเรื่องการออกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

OBM คืออะไร

oemคือ

OBM หรือ Original Brand Manufacturer คือ การผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานที่พัฒนาได้เต็มที่ เพื่อผลิตสินค้าและจำหน่ายในปริมาณที่มาก โดยมุ่งเน้น ผลิตแต่สินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตัวเองแต่เพียงเท่านั้นดังนั้นหากแยบรนด์ของของแข็งแรงมากพอ และต้องการกำลังผลิตจำนวนมาก การเลือกสร้างโรงงานเองก็จะสามารถ ลดต้นทุนในการผลิตไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ

ข้อดี และ ข้อเสียของการเลือกโรงงานประเภทนี้

ข้อดี
  • มีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก ๆ
  • ช่ววยลดต้นทุนในการผลิตไปได้มาก
  • สามารถปรับกลยุทธ์ในการผลิต เื่อไหรก็ได้
ข้อเสีย
  • ต้องผลิต ออกแบบ และทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต
  • ย้ายฐานการผลิตยาก และต้องใช้ต้นทุนสูบงในการสร้างโรงงาน

จากที่เห็นกล่าวมาทั้งหมดนี้คงจะเห็นภาพรวมกันคร่าว ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจกันแล้วนะคะ ทั้งนี้ไม่ว่าเราจะเลือกโรงงานผลิตประเภทใด ก็ขอให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าโรงงานดังกล่าวนั้นได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพราะผู้ซื้อจะตัดสินใจซื้อจากคุณภาพสินค้า ตราบใดที่ผู้ผลิตยังคงรักษาและพัฒนาความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้านั้นได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน การที่แบรนด์ของเราจะประสบความสำเร็จก็คงไม่ไกลเกินเอื้อมเลยค่ะ