Plant-based protein urban lifestyle
คนปัจจุบันที่อาศัยอยุ่ในเมืองหลวง พบปัญหาสุขภาพมากกว่ากลุ่มคนที่อยู่ตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะปัญหาภูมิแพ้จากมลภาวะที่อยู่รอบตัวที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 201 ของปัญหาสุขภาพทั้งหมด ในเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ๆ ผู้คนล้วนมีการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ สังคม บริบทและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญในชีวิตประจำวันในเมืองศิวิไลซ์ได้หล่อหลอมให้เกิดไลฟ์สไตล์แบบคนเมือง หรือ Urban Lifestyle อย่างเลี่ยงไม่ได้
What is Urban Lifestyle?
โอกาส อาชีพ ความก้าวล้ำ ความสะดวกสบาย และความสำเร็จ เป็นปัจจัยที่ผู้คนเข้ามาอาศัยในกรุงเทพ หรือเมืองใหญ่ๆ เพื่อเสาะแสวงหาความก้าวหน้าของชีวิตและครอบครัว เรียกว่าเป็นดั่งจุดหมายปลายทางของนักล่าฝัน สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจ สิ่งแวดล้อม กิน ดื่ม เที่ยว หรือการเดินทาง ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในเมืองหลวงจึงได้เกิดคำว่า “Urban Lifestyle” หรือ วิถีชีวิตแบบคนเมือง
คำว่า Urban Lifestyle ฟังดูแล้วอาจจะนึกถึงความสวยงาม และทันสมัย แต่ผู้คนที่ “ใช้ชีวิต” ในเมืองหลวงจริงๆแล้ว จะรู้เลยว่าฉากหน้าที่ดูสวยหรู มันมีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องแลกมากับความเก๋นี้
Urban Lifestyle VS Urban Health
ปัญหาสุขภาพที่ต้องแลกมากับการใช้ชีวิตแบบคนเมืองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น คนไทยมีปัญหาภูมิแพ้ จากฝุ่นควันจากการเดินทาง จราจรติดขัด อากาศที่ร้อน มลพิษทางเสียง วิสัยทัศน์ที่ไม่พึงประสงค์ และแน่นอนปัญหาจากการรับประทานอาหารที่ได้สารอาหารที่ไม่ครบถ้วน ไม่ครบ 5 หมู่ เนื่องจากข้อจำกัดของเวลายังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องของคนที่อาศัยในเมืองกรุง บวกกับความเครียด และสุขภาพจิต ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพทั้งหมด แล้วอะไรที่จะมาเป็นตัวช่วยเพื่อที่จะทำให้ผู้คน สามารถใช้ชีวิตต่อในยุคที่ทุกคนต่างมีความต้องการมีสุขภาพที่ดีในชีวิตที่เร่งรีบและวุ่นวายนี้
Plant Based Protein ตัวช่วยสุขภาพดีสำหรับทุกคนทุก Lifestyle
โปรตีนนั้นเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย หลายท่านมักเข้าใจผิดว่า การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอนั้น จำเป็นต้องได้รับจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือไข่ เท่านั้น แต่องค์ประกอบของโปรตีนในอาหาร เราสามารถรับโปรตีนที่เพียงพอจากโปรตีนในเนื้อสัตว์และโปรตีนที่พบในพืชด้วย ซึ่ง Plant based Protein คืออะไร นั้น อ่านต่อได้จากเนื้อหาด้านล่างเลย
Plant-based protein คือ โปรตีนจากพืชที่ได้มาจาก พืชตระกูลถั่ว ข้าวบางชนิด และธัญพืชชนิดต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการผลิตโปรตีนทางเลือกซึ่งสกัดมาจากพืชที่ให้โปรตีนสูงออกมาด้วยเช่นกัน โดยความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดของโปรตีนทั้งสองชนิดคือโปรตีนจากพืชจะมีคอเลสเตอรอลและไขมันน้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ จากการผลสำรวจมินเทล2บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก ประเทศสิงคโปร์ 76% ของคนเมืองยุคใหม่เลือกรับประทานโปรตีนจากพืช ทั้งยังมีสารอาหารจำพวกไฟเบอร์ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากโปรตีนที่ได้จากสัตว์นั่นเอง อีกทั้งยังมีใยอาหารสูง ทั้ง3 ชนิดคือ ใยอาหารที่ละลายในน้ำได้ (Soluble Fiber) ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่ร่างกาย, ใยอาหารที่ไม่ละลายในน้ำ (Insoluble Fiber) ที่สามารถจับตัวเกาะเป็นมวลอุจจาระ ทำให้ระบบขับถ่ายเราทำงานปกติ ช่วยป้องกันไม่ให้ท้องผูกได้ และชนิดที่ 3 ใยอาหารที่เพิ่มการหมัก (Fermentable Fibers) ช่วยเพิ่มการหมักของระบบการย่อยอาหาร โดยปริมาณใยอาหารที่ร่างกายมนุษย์เราต้องการต่อวันอยู่ที่ประมาณ 25-30 กรัม ซึ่งในโปรตีนพืชนั้นมีใยอาหารและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสร้างกล้ามเนื้อ เสริมสุขภาพ ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมได้ดี
Plant Based Protein เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่คนใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ไม่มีเวลารับประทานอาหาร หรือได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน
- ผู้ที่ทานมังสวิรัติ
- ผุ้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก
- กลุ่มคนกำลังออกลังกาย Body Builder
- ผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากนมวัว หรือ Lactose-intolerance
- ผู้พักฟื้นจากการเจ็บป่วย
- กลุ่มคนที่มีปัญหาระบบขับถ่าย อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ผู้สูงวัยที่ต้องการบำรุงสุขภาพ
Plant Based Protein มาจากไหน?
ต่อมาเรามาทำความรู้จักสารอาหารที่จะได้จากโปรตีนพืชโดยตัวอย่างพืชหลายชนิดที่มีโปรตีนสูง เป็นแหล่งของโปรตีน ได้แก่
ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี มีโปรตีนสูงถึง 12 กรัม ข้าวกล้องจัดเป็น King of plant based protein เลยทีเดียวเพราะถือว่ามีสารอาหารวิตามินและแร่ธาตุทุกชนิดซึ่งคล้ายคลึงกับน้ำนมแม่มากที่สุด
ถั่วเหลือง (Soy Bean) ปริมาณ 1 ถ้วย มีโปรตีนสูงถึง 28.6 กรัม มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ชื่อว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) จัดเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogen) จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอาการของผู้หญิงวัยทองด้วย
ควินัว (Quinoa) จะพบได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายอาหารสุขภาพ ปริมาณ 1 ถ้วย มีโปรตีนประมาณ 8 กรัม มีแมงกานีส มีธาตุเหล็ก มีใยอาหาร มีสังกะสี นิยมนำมาโรยหรือผสมกับข้าว ทานกับจานสลัด ถือเป็นเมนูช่วยลดน้ำหนักได้ดี
เต้าหู้ (Tofu) ซึ่งเป็นที่พบมากในอาหารไทยหลายเมนู เต้าหู้ปริมาณ 85 กรัม หรือ 1 ถ้วย มีโปรตีนประมาณ 8 กรัม มีแคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระ ฉะนั้นเต้าหู้ก็ถือเป็นสารบำรุงสุขภาพที่ดี
เมล็ดเจีย (Chia Seeds) ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ มีโปรตีนประมาณ 4 กรัม นี่จัดว่าเป็นตัวอย่างของโปรตีนพืชที่เป็นที่นิยมกันในประเทศไทย รวมถึงกำลังเป็นที่นิยมติดเทรนด์ กันไปแล้วสำหรับวิถีชีวิตคนเมืองที่นิยมรักและใส่ใจสุขภาพ
Plant-based Protein VS Whey Protein
ด้วยเหตุผลข้างต้น สามารถกล่าวได้เลยว่า เทรนด์ ณ ปัจจุบันนี้ที่เหมาะสำหรับ lifestyle ของคนเมืองที่ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ แต่มีความใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อยากมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่อยากมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โปรตีนจากพืชค่อนข้างตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีกรดอะมิโนที่สำคัญค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย รวมทั้งสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดีอย่างต่อเนื่อง สามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย รวมถึงทานแล้วปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาภายหลัง ข้อดีมากขนาดนี้แล้วสาวกคนรักสุขภาพทั้งหลายไม่ควรพลาดที่จะหันมาใส่ใจสุขภาพกันด้วย Plant-based protein เพราะในยุค Metaverse ทุกคนต่างก็ทราบกันดีว่า “ การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดก็คือ การลงทุนกับสุขภาพของตัวเราเอง “ อย่าลืมดูแลสุขภาพกันนะคะ ด้วยความห่วงใยจากพวกเราชาวREVOMED
ที่ REVOMED รับผลิต และสร้างแบรนด์ Plant Based Protein แบบครบวงจร สามารถผลิตได้หลายรสชาติตามความต้องการของคุณแบบ Customization พร้อมให้คำปรึกษาจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ยา และอาหารเสริม (ปุ่ม @Line ) ติดต่อ REVOMED คลิกเลย
- แหล่งอ้างอิง https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/สุขภาพวิถีชีวิตคนเมือง
- แหล่งอ้างอิง https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405